วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Assignment#4

 ให้นักศึกษาทำการพิจารณาจากเงื่อนไขต่อไปนี้ พร้อมให้เหตุผลประกอบว่าเหตุใดควรเลือกใช้การเชื่อมต่อแบบใยแก้วนำแสงหรือแบบสายทองแดง





*ต้องการความเร็วในการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับเครื่อง Desktop


ควรเชื่อมต่อแบบสายทองแดง โดยควรเลือกใช้สาย UTP สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย 






*ต้องการให้ประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อระหว่างวงแลนมีความเร็วสูง

ควรเชื่อมต่อแบบสายใยแก้วนำแสง  เส้นใยแก้วนำแสงที่เป็นแท่งแก้วขนเหล็ก มีการโค้งงอได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้กันมากคือ 62.5/125 ไมโครเมตร เส้นใยแก้วนำแสงขนาดนี้เป็นสายที่นำมาใช้ภายในอาคารทั่วไป เมื่อใช้กับคลื่นแสงความยาวคลื่น 850 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้มากกว่า 160 เมกะเฮิรตซ์ ที่ความยาว 1 กิโลเมตร แล้วถ้าใช้ความยาวคลื่น 1300 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้กว่า 500 นาโนเมตร ที่ความยาว 1 กิโลเมตร และถ้าลดความยาวเหลือ 100 เมตร จะใช้กับความถี่สัญญาณมากกว่า 1 กิกะเฮิรตซ์ ดังนั้นจึงดีกว่าสายยูทีพีแบบแคต 5 ที่ใช้กับสัญญาณได้ 100 เมกะเฮิรตซ์








*ระยะทางที่สายสัญญาณเดินทางผ่านต้องผ่านเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า

ควรเชื่อมต่อแบบสายใยแก้วนำแสง ปัญหาที่สำคัญของสายสัญญาแบบทองแดงคือการเหนี่ยวนำโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัญหานี้มีมาก ตั้งแต่เรื่องการรบกวนระหว่างตัวนำหรือเรียกว่าครอสทอร์ค การำม่แมตซ์พอดีทางอิมพีแดนซ์ ทำให้มีคลื่นสะท้อนกลับ การรบกวนจากปัจจัยภายนอกที่เรียกว่า EMI ปัญหเหล่านี้สร้างให้ผู้ใช้ต้องหมั่นดูแล แต่สำหรับเส้นใยแก้วนำแสงแล้วปัญหาเรื่องเหล่านี้จะไม่มี เพราะแสงเป็นพลังงานที่มีพลังงานเฉพาะและไม่ถูกรบกวนของแสงจากภายนอก





ต้องการระบบที่ง่ายต่อการตรวจสอบและซ่อมบำรุงกรณีเกิดปัญหาการเชื่่อมต่อ
ควรเชื่อมต่อแบบสายทองแดง ระบบข่ายสายสัญญาณที่นิยมในปัจจุบันมี 2 ระบบคือข่ายสายทองแดง และข่ายสายใยแก้วนำแสง การใช้งานขึ้นอยู่กับระยะและงบประมาณ เนื่องจากข่ายสายทองแดงจะมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดและง่ายในการบำรุงรักษา ส่วนสายใยแก้วนำแสงจะมีคุณสมบัติการนำสัญญาณดีกว่า รับ-ส่งได้ระยะที่ไกลกว่า แต่จะมีความยากในการติดตั้งและการบำรุงรักษาที่มากกว่าสายทองแดง






รองรับการเพิ่มจุดการเชื่อมต่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ notebook เพิ่มเติมอย่างน้อย 4 เครื่อง

ควรเชื่อมต่อแบบสายทองแดงสายโคแอกเชียล สายโคแอกสามารถส่งสัญญาณได้ ทั้งในช่องทางแบบเบสแบนด์และแบบบรอดแบนด์ การส่งสัญญาณในเบสแบนด์สามารถทำได้เพียง  1 ช่องทางและเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์  แต่ในส่วนของการส่งสัญญาณ ในบรอดแบนด์จะเป็นเช่นเดียวกับสายเคเบิลทีวี  คือสามารถส่งได้พร้อมกันหลายช่องทาง ทั้งข้อมูลแบบดิจิตอลและแบบอนาล็อก  สายโคแอกของเบสแบนด์สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง  2  กม.  ในขณะที่บรอดแบนด์ส่งได้ไกลกว่าถึง  6 เท่า  โดยไม่ต้องเครื่องทบทวน  หรือเครื่องขยายสัญญาณเลย  ถ้าอาศัยหลักการมัลติเพล็กซ์สัญญาณแบบ  FDM  สายโคแอกสามารถมีช่องทาง (เสียง)  ได้ถึง  10,000  ช่องทางในเวลาเดียวกัน อัตราเร็วในการส่งข้อมูลมีได้สูงถึง  50  เมกะบิตต่อวินาที  หรือ 800 เมกะบิตต่อวินาที  ถ้าใช้เครื่องทบทวนสัญญาณทุก ๆ 1.6  กม. ตัวอย่างการใช้สายโคแอกในการส่งสัญญาณข้อมูลที่ใช้กันมากในปัจจุบัน คือสายเคเบิลทีวี  และสายโทรศัพท์ทางไกล (อนาล็อก)  สายส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายท้องถิ่น  หรือ  LAN (ดิจิตอล)  หรือใช้ในการเชื่อมโยงสั้น ๆ ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น