วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Assignment#4

 ให้นักศึกษาทำการพิจารณาจากเงื่อนไขต่อไปนี้ พร้อมให้เหตุผลประกอบว่าเหตุใดควรเลือกใช้การเชื่อมต่อแบบใยแก้วนำแสงหรือแบบสายทองแดง





*ต้องการความเร็วในการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับเครื่อง Desktop


ควรเชื่อมต่อแบบสายทองแดง โดยควรเลือกใช้สาย UTP สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย 






*ต้องการให้ประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อระหว่างวงแลนมีความเร็วสูง

ควรเชื่อมต่อแบบสายใยแก้วนำแสง  เส้นใยแก้วนำแสงที่เป็นแท่งแก้วขนเหล็ก มีการโค้งงอได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้กันมากคือ 62.5/125 ไมโครเมตร เส้นใยแก้วนำแสงขนาดนี้เป็นสายที่นำมาใช้ภายในอาคารทั่วไป เมื่อใช้กับคลื่นแสงความยาวคลื่น 850 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้มากกว่า 160 เมกะเฮิรตซ์ ที่ความยาว 1 กิโลเมตร แล้วถ้าใช้ความยาวคลื่น 1300 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้กว่า 500 นาโนเมตร ที่ความยาว 1 กิโลเมตร และถ้าลดความยาวเหลือ 100 เมตร จะใช้กับความถี่สัญญาณมากกว่า 1 กิกะเฮิรตซ์ ดังนั้นจึงดีกว่าสายยูทีพีแบบแคต 5 ที่ใช้กับสัญญาณได้ 100 เมกะเฮิรตซ์








*ระยะทางที่สายสัญญาณเดินทางผ่านต้องผ่านเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า

ควรเชื่อมต่อแบบสายใยแก้วนำแสง ปัญหาที่สำคัญของสายสัญญาแบบทองแดงคือการเหนี่ยวนำโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัญหานี้มีมาก ตั้งแต่เรื่องการรบกวนระหว่างตัวนำหรือเรียกว่าครอสทอร์ค การำม่แมตซ์พอดีทางอิมพีแดนซ์ ทำให้มีคลื่นสะท้อนกลับ การรบกวนจากปัจจัยภายนอกที่เรียกว่า EMI ปัญหเหล่านี้สร้างให้ผู้ใช้ต้องหมั่นดูแล แต่สำหรับเส้นใยแก้วนำแสงแล้วปัญหาเรื่องเหล่านี้จะไม่มี เพราะแสงเป็นพลังงานที่มีพลังงานเฉพาะและไม่ถูกรบกวนของแสงจากภายนอก





ต้องการระบบที่ง่ายต่อการตรวจสอบและซ่อมบำรุงกรณีเกิดปัญหาการเชื่่อมต่อ
ควรเชื่อมต่อแบบสายทองแดง ระบบข่ายสายสัญญาณที่นิยมในปัจจุบันมี 2 ระบบคือข่ายสายทองแดง และข่ายสายใยแก้วนำแสง การใช้งานขึ้นอยู่กับระยะและงบประมาณ เนื่องจากข่ายสายทองแดงจะมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดและง่ายในการบำรุงรักษา ส่วนสายใยแก้วนำแสงจะมีคุณสมบัติการนำสัญญาณดีกว่า รับ-ส่งได้ระยะที่ไกลกว่า แต่จะมีความยากในการติดตั้งและการบำรุงรักษาที่มากกว่าสายทองแดง






รองรับการเพิ่มจุดการเชื่อมต่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ notebook เพิ่มเติมอย่างน้อย 4 เครื่อง

ควรเชื่อมต่อแบบสายทองแดงสายโคแอกเชียล สายโคแอกสามารถส่งสัญญาณได้ ทั้งในช่องทางแบบเบสแบนด์และแบบบรอดแบนด์ การส่งสัญญาณในเบสแบนด์สามารถทำได้เพียง  1 ช่องทางและเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์  แต่ในส่วนของการส่งสัญญาณ ในบรอดแบนด์จะเป็นเช่นเดียวกับสายเคเบิลทีวี  คือสามารถส่งได้พร้อมกันหลายช่องทาง ทั้งข้อมูลแบบดิจิตอลและแบบอนาล็อก  สายโคแอกของเบสแบนด์สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง  2  กม.  ในขณะที่บรอดแบนด์ส่งได้ไกลกว่าถึง  6 เท่า  โดยไม่ต้องเครื่องทบทวน  หรือเครื่องขยายสัญญาณเลย  ถ้าอาศัยหลักการมัลติเพล็กซ์สัญญาณแบบ  FDM  สายโคแอกสามารถมีช่องทาง (เสียง)  ได้ถึง  10,000  ช่องทางในเวลาเดียวกัน อัตราเร็วในการส่งข้อมูลมีได้สูงถึง  50  เมกะบิตต่อวินาที  หรือ 800 เมกะบิตต่อวินาที  ถ้าใช้เครื่องทบทวนสัญญาณทุก ๆ 1.6  กม. ตัวอย่างการใช้สายโคแอกในการส่งสัญญาณข้อมูลที่ใช้กันมากในปัจจุบัน คือสายเคเบิลทีวี  และสายโทรศัพท์ทางไกล (อนาล็อก)  สายส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายท้องถิ่น  หรือ  LAN (ดิจิตอล)  หรือใช้ในการเชื่อมโยงสั้น ๆ ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก









วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายของคำต่อไปนี้ ^ ^

BrowserBrowser คือเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถท่องเที่ยวไปในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ขีดกั้นทางด้านพรมแดน นอกจากนี้ Browser ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งในขณะนี้บริษัทผลิตซอฟแวร์ค่ายต่างๆ นับวันจะทวีการแข่งขันกันในการผลิต Browser เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่นักท่องเว็บให้มากที่สุด หน้าตาของ browser แตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบการใช้งานของแต่ละค่ายโปรแกรม 



โปรแกรม Browser ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer และ Nescape Navigator แม้ว่าโดยรวมแล้วทั้งสองมีหลักการทำงานที่ค่อนข้างคลายคลึงกัน แต่หน้าตาที่ผิดเพี้ยนกัน คือ ตำแหน่งเครื่องมือ และชื่อเรียกเครื่องมือ อาจทำให้คุณอาจเกิดการสับสนบ้าง หากว่าคุณใช้ Browser ค่ายใดค่ายหนึ่งเป็นประจำ วันหนึ่งคุณอาจสนใจหยิบ Browser ของอีกค่ายหนึ่งมาลองใช้งานดู ความสนุกในการท่องเว็บไซต์ของคุณอาจถูกบั่นทอนลง เพราะความไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือ 

.........................................................................................................

Client คือ เครื่องที่ไปขอใช้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งจาก Server 

- เป็นระบบที่ทำงานในรูปแบบของความสัมพันธ์ของ Process ที่อยู่บนต่างเครื่องกัน
- มีขอบข่ายการทำงานที่แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน คือ process ที่ใช้เป้นตัวให้บริการอยู่ในเครื่องหนึ่ง ในคณะที่ Client Process เป็นตัวใช้บริการจะอยู่อีกเครื่องหนึ่ง 

.........................................................................................................

DNS (Domain Name Server) :  Domain Name Server (DNS) คือสิ่งที่นำมาอ้างถึงหมายเลขเครื่อง หรือ หมายเลข IP Address เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ DNS จะทำหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์ คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใคร คน ๆ นั้นก็จะต้องเปิดสมุดโทรศัพท์เพื่อค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของคนที่ต้องการจะติดต่อคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการจะสื่อสาร กับ DNS server ซึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าว ในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้ Host ดังกล่าวทราบ ระบบ DNS แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ 

Name Resolvers โดยเครื่อง Client ที่ต้องการสอบถามหมายเลขไอพีเรียกว่า Resolver ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็น Resolvers นั้นจะถูกสร้างมากับแอพพลิเคชันหรือเป็น Library ที่มีอยู่ใน Client

Domain Name Space เป็นฐานข้อมูลของ DNS ซึ่งมีโครงสร้างเป็น Tree หรือเป็นลำดับชั้น แต่ละโหนดคือ โดเมนโดยสามารถมีโดเมนย่อย (Sub Domain) ซึ่งจะใช้จุดในการแบ่งแยก

Name Servers เป็นคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลบางส่วนของ DNS โดย Name Server จะตอบการร้องขอทันที โดยการหาข้อมูลตัวเอง หรือส่งต่อการร้องขอไปยัง Name Server อื่น ซึ่งถ้า Name Server มีข้อมูลของส่วนโดเมนแสดงว่า Server นั้นเป็นเจ้าของโดเมนเรียกว่า Authoritative แต่ถ้าไม่มีเรียกว่า Non-Authoritative


.........................................................................................................

Download หมายถึง การดึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งเป็นต้นทางมาเก็บไว้ยังเครื่องของเรา โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
E-mail (Electronic Mail) : E-mail คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail, ย่อ e-mail หรือ email) เป็นการส่งข้อความจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ อินเทอร์เน็ต) มีระบบการกำหนดแอดเดรส (e-mail addressเช่น บนอินเทอร์เน็ต มีแอดเดรสเป็นชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ โดยใช้ระบบชื่อโดเมน เช่นyahoo.com หากผู้ใช้เป็นผู้หนึ่งที่อยู่บนโฮสต์ก็จะมีชื่อบัญชี (account) หรือยูสเซอร์เนมประกอบอยู่ด้วย เช่น somsak@yahoo.com การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการส่งเหมือนจดหมายจริง โดยจะไปเก็บไว้ในเมล์บ็อกซ์ของผู้รับปลายทาง รอจนกว่าผู้รับปลายทางจะมาเปิดเมล์บ็อกซ์นำจดหมายไป


.........................................................................................................




Freeware Freeware คือ ซอฟต์แวร์ประเภทที่ให้ใช้งานได้ฟรี แต่บางครั้งมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ใช้ได้เฉพาะส่วนบุคคล ห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์ หากต้องการใช้เชิงพาณิชย์ จะมีเวอร์ชันที่ผู้พัฒนาเตรียมไว้ขาย ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ต้องระวังหากใช้ในองค์กร ควรจะศึกษาไลเซนต์ให้ดีเสียก่อน ยกตัวอย่างไลเซนส์ของ Adobe Reader โปรแกรมที่ใช้อ่านไฟล์ PDF เป็น Freeware อนุญาตให้ใช้งานได้ฟรี แต่หากไม่อ่านไลเซนส์ดีๆ จะผิดไลเซนส์ได้ง่าย เพราะ Adobe Reader ไม่อนุญาตให้ติดตั้งผ่าน Server ได้ นั่นคือ เราไม่สามารถนำตัวติดตั้งมาวางไว้บน Server ขององค์กรแล้วให้พนักงานดาวน์โหลดได้ หากทำเช่นนั้นถือว่าผิดไลเซนส์


......................................................................................................... 


Homepage
Home Page คืออะไร
           1. สำหรับผู้ใช้เว็บ Home Page คือ เว็บเพจแรกที่ปรากฏหลังจากเริ่มใช้ web browser เช่น Netscape Navigator หรือ Microsoft Internet Explorer ซึ่ง browser มักจะได้รับการตั้งค่าก่อน ดังนั้น home page คือ เพจแรกของผู้ผลิต browser อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามรถตั้งค่าการเปิด web site อื่น ๆ ได้ เช่น การระบุเป็น "http://yahoo.com" เป็น home page ของผู้ใช้ และสามารถระบุเป็นหน้าว่างได้ สำหรับกรณีที่เลือกเพจแรกจาก รายการ book mark หรือ ป้อน address ของเว็บ
          2. สำหรับผู้พัฒนา web site, home page ซึ่งเป็นเพจแรกที่ปรากฏเมื่อผู้ใช้เลือก site หรือ presence บน world wide web ซึ่ง address ของ web site คือ address ของ home page ถึงแม้ว่าผู้ใช้สามรถป้อน address (URL) ของทุกเพจ และมีการส่งเพจมาให้

.........................................................................................................

Internet :  อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก




.........................................................................................................



Server :  server คือ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย ในระบบเครื่อ ข่าย ข้อความแบบนี้อาจจะงงอยู่บ้าง สรุปอีกครั้งนะครับ Server ในทาง computer มี 3 ความหมายคือ
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้ บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
  • ระบบ ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
  • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการ อะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
โดย ปรกติแล้ว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็น Server จะทำงานบนระบบปฏิบัติการ อาจจะเป็น Linux หรือ Windows หรือ Unix ก็ได้ ดังนั้นคำว่า server จึงมิได้หมายถึง คอมพิวเตอร์ เพียงอย่างเดียวแต่ยังหมายถึงระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกด้วย ตัวอย่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น server ถ้าพูดถึงเราคงรู้จักกันดี แต่อาจจะไม่รู้ว่าเรียกว่า server ก็เป็นไปได้ ยกตัวอย่างเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้
  • Web server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการเว็บ อาทิเช่น Apache web server
  • Mail server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการ E-mail อาทิเช่น Postfix, qmail, courier
  • DNS server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการโดเมนเนม อาทิเช่น bind9
  • Database server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการ Database อาทิเช่น mysql, postgresql, DB2
.........................................................................................................


World Wide Web :   เวิลด์ไวด์เว็บ (อังกฤษ: World Wide Web, WWW, W3 ; หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "เว็บ") คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนด URL คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต โดยจริงๆแล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต


มาตรฐานที่ใช้ในเว็บ

มาตรฐานหลักที่ใช้ในเว็บประกอบด้วย 3 มาตรฐานหลักดังต่อไปนี้:
  • Uniform Resource Locator (URL) เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจแต่ละหน้า
  • HyperText Transfer Protocol (HTTP) เป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารระหว่างเว็บเบราว์เซอร์ และเซิร์ฟเวอร์
  • HyperText Markup Language (HTML) เป็นตัวกำหนดลักษณะการแสดงผลของข้อมูลในเว็บเพจ
องค์กร World Wide Web Consortium (W3C) พัฒนาและดูแลระบบมาตรฐานหลัก และมาตรฐานอื่นๆ ที่ใช้กันในเวิลด์ไวด์เว็บ
.........................................................................................................




Web Site หรือ Web Serverเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ความหมาย คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์

การใช้งาน Web Server 

  1. เมื่อผู้ใช้ป้อนยูอาร์แอล (URL) ในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เช่น IE, Firefox, Google chome
  2. เครื่องไคลแอนท์จะแปลงชื่อโฮสต์ ภายในยูอาร์แอลเป็นไอพีแอดเดรส
  3. เครื่องไคลแอนท์ติดต่อกับเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยปรกติจะใช้โพรโทคอล TCP พอร์ต 80
  4. เมื่อทำการเชื่อมต่อเสร็จ จะใช้โพรโทคอล HTTP ในการเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการ


......................................................................................................... 


Web Browserเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

  1. Internet Explorer
  2. Mozilla Firefox
  3. Google Chrome
  4. Safari


.........................................................................................................




Hypertext  hypertext เป็นการจัดการหน่วยสารสนเทศในการติดต่อ ที่ผู้ใช้เลือกสำหรับสร้าง โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับการเชื่อม (Link ) หรือ hypertext link
hypertext เป็นแนวคิดหลักในการนำไปสู่การคิดค้น World Wide Web ซึ่งไม่มีอะไรมากกว่าสารสนเทศ จำนวนมหาศาล ที่เชื่อมต่อโดย hypertext link จำนวนมาก
คำนี้ใช้ครั้งแรกโดย Ted Nelson ในการอธิบายระบบ Xanadu ของเขา
.........................................................................................................


Cloud Computing คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับธุรกิจในปัจจุบัน

Cloud Technology หรือ Cloud Computing คือ เทคโนโลยีของระบบประมวลผลรูปแบบใหม่ ที่เปลี่ยนมุมมองของผู้ใช้ให้เป็นไปในมุมมองในลักษณะคล้ายๆ กับการใช้ทรัพยากรสาธารณูปโภคที่มีผู้ให้บริการ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ซึ่งจุดนี้หมายความว่าผู้ใช้สามารถใช้ Cloud Technology ในลักษณะคล้ายๆ กับการใช้บริการ โดยเสียค่าบริการเป็น Pay per use จ่ายเท่าที่ใช้หรือจะใช้ประจำทุกเดือน คล้ายๆ เสียค่าสมาชิกรายเดือนของเคเบิล TV ก็ตามแต่ความต้องการในการใช้งาน โดยในปัจจุบัน องค์กรสามารถใช้ Cloud Technology ได้ 2-3 รูปแบบ (SaaS, IaaS, PaaS) อธิบายแบบง่ายๆ คือ




รูปแบบที่ 1 (Software as a Service, SaaS): จากรูปด้านล่างผู้ใช้สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นและข้อมูลองค์กรได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Business Software บน Cloud Technologyได้ทันที เช่น ใช้Email Application, ระบบ File Sharing/Content Management, ระบบ CRM Application สำหรับ Sales และCustomer Support เป็นต้น โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่า Application นี้ทำงานอยู่ที่ไหน เก็บข้อมูลอย่างไร ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานได้ตลอด ทุกที่ ทุกเวลา ที่สามารถเข้าถึง Internet ได้



Software as a Service (SaaS): ผู้ใช้สามารถใช้บริการ Application ได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่มี Internet


รูปแบบที่ 2 (Infrastructure as a Service, IaaS): สะดวก ยืดหยุ่น และ ง่ายต่อการบริหารทรัพยากร IT ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Virtual Server/ Virtual Machine บน Cloud Technology ได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเครื่อง Server ที่มี 4 CPUs, 32GB Memory, 10TB Storage สามารถเรียกขึ้นมาใช้ได้ทันที จาก Cloud Technology เช่นเดียวกันกับรูปแบบที่ ที่ผู้ใช้ไม่ต้องสนใจเลยว่า Virtual Server หรือ Virtual PC/Desktop ที่ได้มานั้น ตั้งอยู่ที่ไหนมาได้อย่างไร สามารถเรียกใช้หรือคืนได้ทันทีเมื่อใช้เสร็จ


Infrastructure as a Service (IaaS): ผู้ใช้สามารถเรียก Computing Resource เช่น Server, PC Desktop ขึ้นมาใช้ได้ทันทีจาก Cloud Technology ไม่ต้องเสียเวลาไปรอสั่งซื้อเครื่อง แล้วรอเครื่องมาส่งกว่าจะได้ใช้งาน

  
Cloud Technology รูปแบบที่ 3 (Platform as a Service, PaaS): เป็นรูปแบบที่กำลังจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ของเพื่อให้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่อาศัยคุณสมบัติข้อดีของCloud ได้อย่างดีเยี่ยม รูปแบบนี้ อาจจะอธิบายได้ยากและซับซ้อนมากขึ้นกว่า รูปแบบแรก ซึ่งผู้ใช้ Cloud ในรูปแบบนี้จะเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) ที่ต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานบน Cloud และให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นนั้นใช้คุณสมบัติต่างๆของ Cloud ที่จะไม่สามารถหาได้จากสภาวะปกติ (Non-cloud computing) เช่น ความสามารถในการขยาย Computing Resource (CPU/Memory) เมื่อต้องใช้ประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก หรือ หดComputing Resource เมื่อใช้ประมวลผลข้อมูลจำนวนไม่มาก เป็นต้น โดยเป็นรูปแบบการใช้ Cloud Technology ที่กำลังจะเป็นที่นิยมมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่น่าเกินปี 2015


Platform as a Service (PaaS): นักพัฒนา Software สามารถเรียกใช้ความสามารถหรือบริการต่างๆ ของ Cloud เพื่อนำมาประกอบกันเป็น Application ที่ยืดหยุ่น รองรับความสามารถที่หลากหลาย และ จำนวนผู้ใช้ที่มาก หรือ น้อยได้โดยอัตโนมัติ


จากรูปแบบการใช้ Cloud Technology ในแบบที่ 1 (SaaS) และ แบบที่ 2 (IaaS) จะพบว่า ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้ทั้งBusiness Software และ/หรือ Virtual Servers และ/หรือ Virtual Desktop จาก Cloud ได้ทันทีทันใด ไม่ต้องรอขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆที่จะใช้ระยะเวลายาวนานเหมือนสมัยก่อนในอดีตก่อนหน้าที่จะมี Cloud Technology ที่จะต้องทำการ จัดซื้อ/จัดจ้าง อุปกรณ์ Hardware, Software ต่างๆ ใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ถึงจะสามารถใช้งานได้ นี่คือข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องของความรวดเร็วในการได้ Information Technology (IT) มาใช้งาน ซึ่งจุดเด่นของรูปแบบการใช้ Cloud Technology ในลักษณะนี้นี่เองที่จะทำให้ธุรกิจสามารถขยับขยาย หรือ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว ยืดหยุ่น รวดเร็วมากขึ้น (หรือที่เรียกว่า Business Agility) และไม่มีภาระผูกพันที่ยาวนาน สามารถเรียกใช้และทำลายได้ที เมื่อใช้ Cloud Technology มาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรธุรกิจ 


ซึ่งถ้าหากพิจารณาเปรียบเทียบในเชิงต้นทุนเพื่อที่จะลงทุนว่า จะใช้ Cloud Technology หรือจะใช้แบบดั้งเดิม (Non-Cloud) นั้น ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดสามารถจำแนกออกเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

1. (Cloud) "Pay as you grow"  VS  (Non-Cloud) "Pay Upfront investment": ถ้าเป็น Cloud Technologyรูปแบบการลงทุนจ่ายค่าใช้บริการจะเป็นไปในลักษณะ "ใช้น้อย จ่ายน้อยใช้มาก จ่ายมาก" ซึ่งจะแตกต่างจากNon-Cloud หรือการใช้งาน IT ในอดีตคือ ต้องลงทุน Hardware/Software ไปก่อนตอนเริ่มต้นเป็นเงินก้อนใหญ่ ไม่ว่าตอนเริ่มต้นจะใช้มากหรือใช้น้อยก็ตาม หลังจากนั้นต้องคอยเฝ้าดูระบบเป็นระยะ ว่าจำเป็นต้องทำ Upgrade ชุดใหม่แล้วหรือยัง ซึ่งเป็น Upfront investment อีกก้อนในอนาคต ไม่รู้จบ และ ยังต้องมีค่า Maintenance Service ทั้งHardware/Software มาเกี่ยวข้องอีกมากมาย ซึ่งเป็นต้นทุนแฝง

2. (Cloud) ไม่มีต้นทุนในเชิง Maintenance Service ที่องค์กรธุรกิจต้องจ่าย VS (Non-Cloud) มีต้นทุนMaintenance Service ที่องค์กรธุรกิจต้องจ่ายทุกปี หรือ ทุก 3-5 ปี : ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ถ้าเลือกใช้ Cloud Technology องค์กรธุรกิจจะมีค่าใช้จ่ายต้นทุนที่ชัดเจน คิดตามการใช้งาน เช่น คิดตามจำนวนผู้ใช้ หรือ ตามเวลาที่ใช้ เป็นต้น จะไม่มีค่าใช้จ่ายใดแอบแฝงอีก แต่ถ้าหากเป็นแบบระบบเดิม (Non-Cloud) หน่วยงาน IT ขององค์กร จะมีค่าใช้จ่ายในเชิง Maintenance Service และ ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ แอบแฝง เช่น ค่าเช่า Space Datacenter, ค่าไฟแอร์ และ การทำ Datacenter สำรองข้อมูลนอกพื้นที่กรณีเกิดภาวะวิกฤต หรือที่เรียกว่า Disaster Recovery Site เป็นต้น

เพื่อยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จึงขอยกตัวอย่าง Public Cloud Service ตัวอย่างหนึ่งของ Google ที่มีชื่อว่า"Google Apps for Business"



Google Apps Cloud Service: เป็น Software as a Service (SaaS) ที่คิดเงินตามจำนวนผู้ใช้ (50 USD ต่อคนต่อปี) โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แอบแฝงอีก สามารถเพิ่มหรือลดจำนวนผู้ใช้ได้ตลอดเวลา


Google Apps นั้นเป็น Public Cloud Service ประเภท SaaS (Software as a Service) ที่ให้บริการด้าน Email Messaging & Collaboration หรือถ้าจะแปลเป็นไทยคือ ระบบอีเมล์และระบบการแชร์ข้อมูลร่วมกัน ภายในองค์กรธุรกิจนั่นเอง โดยรูปแบบของการใช้งาน จะมีความคล้ายคลึงกับ Gmail.com ที่ให้บริการ Free email อยู่บน Internet แต่มีจุดที่แตกต่างมากมายคือ Google Apps ออกแบบมาสำหรับองค์กรธุรกิจไว้ใช้งานภายใน สามารถมี email address เป็น@companyname.com ของลูกค้าได้ (จะไม่ใช่ @gmail.com) และยังมีฟีเจอร์อื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น เช่น ระบบ Calendar, Mailing List, File Sharing, Chat, Voice/Video over IP เพื่อโทรหากันโดยผ่านเครือข่าย Internet ,ระบบ Email Anti-Spam/Anti-Virus, Email Archiving (เก็บอีเมล์ได้นาน 1 ปี หรือ 10 ปี)และ นอกเหนือจากนี้ ยังสามารถเข้าถึง Google Apps ผ่านทาง อุปกรณ์มือถือเช่น iPhone, BlackBerry, Windows Mobile ได้อีกด้วย โดยรองรับการทำ Push Notification เรียกได้ว่า จัดครบชุดใหญ่เลยทีเดียว ซึ่งรูปแบบการคิดค่าใช้บริการของ Google Apps นั้นก็จะนับจำนวนผู้ใช้งาน โดยอัตราราคาอยู่ที่ 50 USD/user/year (หรือประมาณ 1700 บาทต่อคนต่อปี) ได้ความสามารถของซอฟต์แวร์ที่อธิบายไปด้านบนทั้งหมดครบชุด และสามารถเก็บเนื้อที่ Email Storage ได้สูงถึง 25GB/user




Google ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ จะทำการจัดการเทคโนโลยีเบื้องหลังทั้งหมดให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยจะมีการทำการสำรองข้อมูลกระจายไปยัง Google Datacenter ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเพิ่ม Service Level ให้ครอบคลุมและให้มี Service Uptime มากสุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้บริการได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมง วัน ซึ่งถ้าหากองค์กรธุรกิจที่ต้องการลงทุน IT Infrastructure เองเพื่อให้ได้ความสามารถเทียบเคียงกับ Google Apps นั้น จำเป็นต้องลงทุน (Upfront Investment) ในหลายๆ เรื่อง ที่เป็น Infrastructure หลัก เช่น Server, Storage, Email Software License, Anti-Virus/Anti-Spam Software, Mobile Servers, File Servers , Operating System License , Clustering Software License และ อื่นๆ อีกมากมาย ยังไม่รวมถึงการทำ Disaster Recovery ที่จำเป็นต้องมี Datacenter สำรอง นอกสถานที่ เพื่อปกป้องข้อมูลของระบบEmail อีกด้วย สุดท้ายถ้าหากมีจำนวนผู้ใช้มากขึ้น Server Hardware ต่างๆ จะต้องมีการ Upgrade เปลี่ยนเครื่อง ก็จัดเป็นUpfront Investment อย่างเป็นลูกโซ่ไม่รู้จบ ถ้าเทียบกับการลงทุนกับ Google Apps เพียงคิดค่าบริการเป็นรายปีต่อผู้ใช้ เหมาจ่าย ไม่มีค่าใช้จ่ายแฝง เป็นต้น
นี่คือข้อแตกต่างในเชิงการลงทุนอย่างชัดเจน ระหว่างการใช้Cloud กับ แบบดั้งเดิม

หากสนใจในตัว Cloud Google Apps เพื่อนำไปเปลี่ยนระบบอีเมล์ขององค์กรให้ติดต่อ ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ Google ประจำประเทศไทยได้ที่ บริษัท แทนเจอรีน จำกัด หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Apps ได้ที่ http://www.tangerine.co.th/apps-overview

นอกจากนี้ยังมี Cloud Technology อื่นๆ อีกมากมาย ที่ให้บริการ Business Application ทำนองนี้ เช่น Salesforce.comหรือ Amazon Web Services หรือ ที่อื่นๆ ซึ่งจุดประสงค์ของ Cloud Technology ถูกสร้างขึ้นเพื่อที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจลดการเสียเวลาหรือเสียค่าใช้จ่ายที่จะต้องบริหารจัดการ IT Infrastructure ด้วยตนเอง ให้ไปเน้นการทำธุรกิจขององค์กรแทนที่จะเน้นการบริหารจัดการ IT Infrastructure ในองค์กร ซึ่งมีต้นทุนในการบริหารจัดการสูงกว่าการ Outsourcing ไปใช้บริการ Public Cloud Service อย่างแน่นอน




ห็นดังนี้แล้วคงหมดข้อสงสัยว่าทำไม Cloud Technology จึงถูกหยิบยกให้เป็นสุดยอดเทคโนโลยียอดฮิตขององค์กรธุรกิจชั้นแนวหน้ามากมาย ที่วางใจเลือกใช้ Cloud Technology เป็นมือขวาที่ช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรธุรกิจสามารถวิ่งแซงหน้าในสนามแข่งขันได้อย่างสบายๆ




ที่มา http://www.s50.me/2012/04/it-trend-cloud-technology.html


Google Apps คืออะไร
Google Apps คือ แอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Google เพื่อให้บริการทางด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร ซึ่งได้มีการรวมแอปพลิเคชัน ต่างๆ ที่ถือว่ามีความจำเป็นต่อองค์กรในปัจจุบันอันได้แก่
  • Gmail
  • Google Talk
  • Google Calendar
  • Google Documents เป็นต้น
ทั้งนี้เราสามารถใช้บริการดังกล่าวได้ฟรี ซึ่งการติดตั้ง Google Apps เพื่อให้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพ ทำได้โดยการ configure MX Record พร้อมทั้ง CNAME ของ DNS server ทั้ง บน Windows และ Linux ทำให้ บริษัทหรือองค์กรต่างๆ สามารถใช้ email ในรูปแบบโดเมนของท่านเองได้ ผ่านระบบ Gmail server ซึ่งให้พื้นที่เก็บอีเมล์สูงถึง 7 GB ต่อ account และที่สำคัญไปกว่านั้น Google Apps ยังมีการจัดการเกี่ยวกับ Spam mail และ ไวรัส ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย



Google Apps  มีประโยชน์และการใช้งานอย่างไร


Google Apps ประโยชน์การใช้งาน

การประหยัดค่าใช้จ่ายที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว

แอปพลิเคชันการส่งข้อความและการทำงานร่วมกันที่ทำงานแบบเว็บของ Google ไม่จำเป็นต้องใช้ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ และต้องการการดูแลระบบน้อยที่สุด สร้างเวลาเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย และประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจ
ผู้ใช้สามารถใช้งาน ส่วนติดต่อของ Microsoft Outlook ที่คุ้นเคยสำหรับอีเมล ที่อยู่ติดต่อ และปฏิทินได้ เมื่อเปลี่ยนไปใช้ Gmail และ Google ปฏิทิน
บริษัททำวิจัยชั้นนำพบว่า Google Apps มีค่าใช้จ่ายโดยรวมเพียง 1/3 ของค่าใช้จ่ายสำหรับโซลูชันคู่แข่ง
ต้องการดูใช่หรือไม่ว่าคุณสามารถประหยัดได้มากเพียงใดเมื่อใช้งาน Google Apps โดยเปรียบเทียบกับ Microsoft Exchange 2007 ประมาณการเงินที่คุณประหยัดได้

พื้นที่เก็บข้อมูลมากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม 50 เท่า

พนักงานแต่ละรายจะมีพื้นที่เก็บข้อมูลอีเมลขนาด 25 กิกะไบต์ ดังนั้นจึงสามารถเก็บข้อมูลสำคัญและค้นหาได้ทันทีด้วยการค้นหาของ Google ที่มีอยู่ภายในระบบ
Gmail ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้พนักงานสามารถลดเวลาในการจัดการกับกล่องจดหมายของตน และเพิ่มเวลาในการทำงาน คุณลักษณะที่ช่วยประหยัดเวลา ดังเช่น สายข้อมูลของข้อความ ป้ายกำกับข้อความ การค้นหาข้อความอย่างรวดเร็ว และการกรองสแปมที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานกับอีเมลปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การเข้าถึงอีเมล ปฏิทิน และ IM บนโทรศัพท์มือถือ

ด้วยการใช้ตัวเลือกมากมายสำหรับการเข้าถึงข้อมูลขณะเดินทาง พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย Google Apps แม้ว่าจะไม่อยู่ที่โต๊ะของตนก็ตาม
Google Apps สนับสนุนการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือแบบไร้สายในอุปกรณ์ BlackBerry, iPhone, Windows Mobile, Android และโทรศัพท์หลายประเภทที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เรียนรู้เพิ่มเติม

รับประกันความน่าเชื่อถือของความพร้อมในการทำงาน 99.9%

เรารับประกันว่า Google Apps จะมีความพร้อมในการทำงานอย่างน้อย 99.9% ดังนั้นพนักงานของคุณจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากขึ้น และคุณจะกังวลใจน้อยลงเกี่ยวกับการหยุดทำงานของระบบ **
การจำลองข้อมูลแบบซิงโครนัส ทำให้ข้อมูลและกิจกรรมของคุณใน Gmail, Google ปฏิทิน, Google เอกสารและ Google Sites มีการเก็บรักษาไว้ในเวลาเดียวกันในศูนย์ข้อมูลที่มีความปลอดภัยหลายแห่ง ถ้าศูนย์ข้อมูลแห่งหนึ่งไม่สามารถตอบสนองคำขอของคุณ ระบบของเราได้รับการออกแบบให้เปลี่ยนกลับไปยังศูนย์ข้อมูลอีกแห่งซึ่งสามารถให้บริการบัญชีของคุณได้โดยที่ไม่เกิดการสะดุดขึ้น
Radicati Group พบว่าโดยปกติแล้ว Microsoft Exchange จะมีเวลาหยุดทำงานโดยไม่ได้กำหนดไว้เป็นเวลา 60 นาทีต่อเดือน ลูกค้าของ Google Apps พบว่าโดยปกติแล้วระบบจะหยุดทำงานน้อยกว่า 15 นาทีต่อเดือน อ่านเพิ่มเติม

ความปลอดภัยของข้อมูลและเป็นไปตามข้อกำหนด

เมื่อคุณวางใจที่จะมอบข้อมูลของบริษัทแก่ Google คุณสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญของคุณจะปลอดภัย
ทีมงานรักษาความปลอดภัยข้อมูลของ Google ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกในด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล แอปพลิเคชัน และเครือข่าย มุ่งเน้นที่จะรักษาข้อมูลของคุณให้ปลอดภัย Google และลูกค้าอื่นๆ จำนวนมากวางใจใช้ระบบนี้กับข้อมูลบริษัทที่มีความสำคัญสูง เรียนรู้เพิ่มเติม
ธุรกิจสามารถรับคุณลักษณะการรักษาความปลอดภัยที่สามารถปรับแต่งได้เหล่านี้กับ Google Apps:
  • เครื่องมือการกรองสแปมและอีเมลขาเข้าที่กำหนดเอง ขับเคลื่อนโดย Postini เพื่อเสริมตัวกรองสแปมที่มีประสิทธิภาพซึ่งทำงานโดยอัตโนมัติและไม่ต้องกำหนดค่าใดๆ
  • เครื่องมือการกรองอีเมลขาออกที่กำหนดเองเพื่อป้องกันข้อมูลสำคัญจากการถูกเผยแพร่ ซึ่งขับเคลื่อนโดย Postini
  • กฎการแบ่งปันข้อมูลที่กำหนดเองเพื่อระบุขอบเขตที่พนักงานได้รับอนุญาตให้สามารถแบ่งปันด้วย Google เอกสาร, Google ปฏิทิน และ Google Sites
  • ข้อกำหนดความยาวของรหัสผ่านที่กำหนดเองและเครื่องแสดงความเข้มงวดด้วยภาพที่จะช่วยให้พนักงานเลือกรหัสผ่านที่ปลอดภัย
  • การเชื่อมต่อ SSL ที่บังคับใช้กับ Google Apps เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถเข้าถึง HTTPS อย่างปลอดภัย
  • การเก็บอีเมลแบบถาวรซึ่งเป็นตัวเลือก สามารถเก็บรักษาได้ถึง 10 ปี

การควบคุมการดูแลระบบและข้อมูลแบบสมบูรณ์

ผู้ดูแลระบบสามารถปรับแต่ง Google Apps ในเชิงลึกเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านเทคนิค ตราสินค้า และธุรกิจของตนได้
ตัวเลือกการผสานรวมจะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อ Google Apps กับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีอยู่ของคุณ
  • API การลงชื่อเพียงครั้งเดียวจะเชื่อมต่อ Google Apps กับระบบการตรวจสอบสิทธิ์ที่มีอยู่ของคุณ
  • เครื่องมือและ API การจัดสรรสำหรับผู้ใช้จะเชื่อมต่อ Google Apps กับระบบไดเรกทอรีผู้ใช้ที่มีอยู่ของคุณ
  • การสนับสนุนการกำหนดเส้นทางอีเมลและเกตเวย์อีเมลจะช่วยให้คุณสามารถใช้งาน Google Apps ควบคู่ไปกับโซลูชันอีเมลที่มีอยู่
  • เครื่องมือและ API การโอนย้ายข้อมูลอีเมลจะทำให้คุณสามารถนำอีเมลจากโซลูชันอีเมลที่มีอยู่ของคุณไปยัง Google Apps
การกำหนดตราสินค้าของระบบและความเป็นเจ้าของข้อมูลเป็นการกำหนดรูปลักษณ์ของ Google Apps ให้เป็นแบบของคุณเอง ช่วยให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะเป็นเจ้าของข้อมูลพนักงาน
  • กำหนดบัญชีผู้ใช้ด้วยตนเองในโดเมนอินเทอร์เน็ตของบริษัทของคุณ
  • โลโก้และสีที่กำหนดเองในแอปพลิเคชัน
  • การเป็นเจ้าของข้อมูลพนักงานของลูกค้าตามสัญญา

การสนับสนุนลูกค้าทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงที่เป็นประโยชน์

Google Apps มีความน่าเชื่อถือในระดับสูงและทำงานได้อย่างง่ายดาย แต่การสนับสนุนมีให้สำหรับผู้ดูแลระบบ หากคุณต้องการใช้งาน